ENGLISH
ความเป็นมา โครงสร้าง
วิสัยทัศน์ / พันธกิจ
กิจกรรม
สารวันผู้สูงอายุแห่งชาติ 25565
สารวันเอดส์โลก
งานชุมนุมผู้สูงอายุฯ ครั้งที่ 76
งานชุมนุมผู้สูงอายุฯ ครั้งที่ 8
ชมรมเวชบุคคลคาทอลิกแห่งประเทศไทย
คณะอนุกรรมการฯ เพื่อผู้สูงอายุ
คณะอนุกรรมการฯ งานเอดส์
จดหมายข่าว
โครงการใหม่แผนกสุขภาพอนามัย
แผนที่เดินทาง
บทที่ 2
การเยี่ยมผู้สูงอายุและผู้ป่วยระยะสุดท้าย   (ต่อ)
สำหรับผู้ป่วยดังกล่าวเราควรเน้นประเด็นไปที่ 2 จุดด้วยกัน
1. บรรเทาความเจ็บปวด

2. บรรเทาอาการบางอย่างซึ่งยากที่จะทน เช่นอาเจียน ท้องผูก ก๊าซในกระเพาะ กลืนไม่ลง เบื่อ อาหาร และน้ำหนักลดลงอย่างรวดเร็ว
แพทย์ที่ได้รับการฝึกมาในวิชาบรรเทาความเจ็บปวดจะสามารถจัดการกับอาการดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิผล ผู้ป่วยอาจรู้สึกสบายขึ้นไม่ต้องทรมานในวาระสุดท้ายของชีวิต หากผู้ป่วยยินยอมเราอาจขอความช่วยเหลือจากแพทย์หรือพยาบาลประจำบ้านผู้สูงอายุก็ได้
- ความต้องการฝ่ายกาย ผู้ป่วยระยะสุดท้ายจะผ่านขั้นตอนของอารมณ์ที่ผันแปรต่างๆ เมื่อได้รับการบอกหรือรู้ตัวว่าตนอยู่ในอาการขั้นสุดท้ายแล้ว

ขั้นตอนของการยอมรับ
1. ปฎิเสธ :"ฉันมั่นใจว่าหมอคิดผิด เป็นไปไม่ได้ที่ฉันจะเป็นมะเร็ง อาทิตย์ที่แล้วฉันไปพบแพทย์ แพทย์ยังบอกเลยว่าฉันสบายดี"
2. โกรธ : "ทำไมหมอคนแรกไม่ยอมบอกฉันว่าฉันเป็นมะเร็ง ฉันจะฟ้องแพทย์สภา"
3. ต่อรอง :"หมอคนที่สองอาจผิดก็ได้ แต่น้ำหนักตัวฉันกำลังลดวูบวาบ บางทีหมออาจพูดถูก"
4. สิ้นหวัง :"คงจะจริง เพราะฉันเบื่ออาหาร ฉันไม่อยากออกไปไหน ฉันไม่รู้จะทำอย่างไรดีตอนนี้ ฉันมีปัญหามากมายเหลือเกิน"
5. ยอมรับ :"ดูเหมือนว่าฉันจะเป็นมะเร็ง อาจมีชีวิตอยู่ได้อีกไม่นาน ขอพระเจ้าช่วยฉันด้วย"

ให้ถามผู้ป่วยว่าเขาอยากรับประทานอะไรหรืออยากได้อะไร หากผู้ป่วยและครอบครัวของเขาไม่ขัดข้องก็ให้นำของที่เขาต้องการไปฝาก ระวังอย่านำของฝากที่ครอบครัวอยากได้เสียเองไปฝากผู้ป่วย

โดยปกติผู้ป่วยระยะสุดท้ายจะมีอาการทรุดลงไปเรื่อยๆ ไม่สามารถเดิน กิน พูดเสียงดัง และต้องการความช่วยเหลือในด้านต่างๆ ในการดำเนินชีวิตประจำวัน เช่น การกิน การชำระร่างกาย การเดิน หรือแม้กระทั่งการเข้าห้องน้ำ ครอบครัวอาจต้องการให้มีคนช่วย เช่น ไปตัดผม หรือไปชอปปิ้ง อาสาสมัครของวัดอาจช่วยได้ในประเด็นนี้

ระยะนี้เป็นช่วงสำคัญที่จะต้องไม่บังคับเรื่องของการกินอาหาร ไม่จำเป็นจะต้องสอดท่อพลาสติกไปยังกระเพาะหรือให้น้ำเกลือ สิ่งสำคัญ คือสนองความปรารถนาของผู้ป่วยที่อยากอยู่อย่างสงบและสบาย ครอบครัวอาจเป็นห่วงกังวล ดังนั้นต้องอธิบายให้พวกเขาเข้าใจถึงจุดประสงค์ของเราที่ต้องการเห็นความสะดวกสบายและจิตใจที่สงบสุขของผู้ป่วย จงขจัดความกังวลทุกอย่างออกไปให้หมดสิ้นในประเด็นที่ว่าพวกเขาจะถูกทอดทิ้ง

ง. ครอบครัว
การเข้ากันได้ดีกับครอบครัวเป็นเรื่องสำคัญเพื่อที่ผู้ป่วยจะได้รับความช่วยเหลือ ต้องพูดตรงไปตรงมากับสมาชิกของครอบครัว ไม่ว่าจะวางแผนทำกิจกรรมใดสิ่งสำคัญ คือ ต้องปรึกษากับผู้ป่วยและครอบครัวของเขาก่อน

จ. สิ่งที่ต้องการและคนที่สามารถช่วยได้
สิ่งที่ต้องการ คนที่สามารถช่วย
1. ยา แพทย์และพยาบาล
2. ด้านจิตวิทยาและอารมณ์ จิตแพทย์ ผู้ที่ให้คำปรึกษา พระสงฆ์
3. ฝ่ายกาย สมาชิกในครอบครัว อาสาสมัคร
4. ฝ่ายสังคม อาสาสมัคร
5. ฝ่ายจิตวิญญาณ อาสาสมัคร พระสงฆ์ นักบวช
6. ฝ่ายการเงิน องค์กรต่างๆ ใครก็ได้ที่เต็มใจ

หากท่านไม่มีความสามารถที่จะช่วยด้วยตนเองได้ ขอให้แนะนำผู้ป่วยไปยังผู้ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้อง แต่ต้องได้รับความเห็นชอบจากผู้ป่วยและครอบครัวของเขาเสียก่อน

ฉ. การลดความทรมานของผู้ป่วยระยะสุดท้าย
- การดูแลผู้ป่วยในขั้นสุดท้ายแบบประคับประคอง (Palliative Care) คืออะไร?
มันคือการดูแลแบบบูรณาการต่อผู้ป่วยขั้นสุดท้ายและต่อครอบครัวของเขาโดยทีมงานมืออาชีพ ณ เวลาที่อาการโรคของผู้ป่วยไม่มีการสนองตอบต่อยาและชีวิตเหลือสั้นมาก การดูแลเพื่อลดอาการทรมานเป็นการสนองต่อความต้องการฝ่ายกาย ฝ่ายจิตวิทยา ฝ่ายสังคมและฝ่ายจิตวิญญาณของผู้ป่วย บ่อยครั้งมันเชื่อมโยงไปถึงความต้องการของครอบครัวหลังจากที่ผู้ป่วยเสียชีวิตไปแล้วด้วย จุดประสงค์ก็เพื่อที่จะช่วยดูแลเอาใจใส่ผู้ป่วยวาระสุดท้าย เพื่อเขาจะได้สามารถมีชีวิตอยู่อย่างสมบูรณ์ และไม่ต้องทนทุกข์ทรมานเท่าที่จะสามารถทำได้

ช. การเยี่ยมผู้ป่วยระยะสุดท้าย
- การสนทนากับผู้ป่วยระยะสุดท้าย
จุดประสงค์ของการสนทนา คือ
- ลดความไม่มั่นใจให้เหลือน้อยลง
- ส่งเสริมความสัมพันธ์
- ให้คำแนะนำผู้ป่วยและครอบครัวว่าจะต้องทำอย่างไรกันต่อไป
คำปลอบใจที่คนใกล้ตายอยากได้ยินคือ"ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นกับคุณ เราจะไม่ทอดทิ้งคุณ"

มีวิธีการสื่อสารหลายอย่างที่สามารถสื่อสารกับผู้ป่วยโดยไม่ต้องพูด แต่อาศัย:
- การแสดงออกทางใบหน้า: หากเราอยู่กับผู้ป่วยจริงๆ และรู้สึกถึงความเจ็บปวดของเขา
- การสบตา: บ่อยครั้งเราจะถูกรบกวนหรือขัดจังหวัดด้วยเสียงโทรศัพท์ หรือกวาดสายตาไปรอบห้องเหมือนกับแสดงว่าเรามีอาการเบื่อหน่าย
- อิริยาบถ: ไม่ว่าจะนั่งหรือยืน ใกล้หรือห่าง ไม่ควรเป็นการชี้ให้เกิดความรู้สึกว่าเรารังเกียจสายตาหรือกลิ่นของผู้ป่วย ควรระวังที่จะไม่เหยียดเท้าไปบนเตียงหรือนั่งบนเตียงใกล้ผู้ป่วยจนทำให้ผู้ป่วยเกิดความรู้สึกว่าตนเองกำลังถูกอำนาจเหนือกว่าข่มขู่ หรืออยู่ไกลเกินจนเขารู้สึกว่าเราไม่ให้ความสนิทสนม
- ระดับของเสียง: เสียงไม่ควรดังเกินไป ควรเยือกเย็นและสุภาพ
- การสัมผัส: เป็นเสมือนการบำบัดที่แสดงถึงความเป็นมิตรและสบายเป็นกันเอง

การสื่อด้วยวาจาเป็นเครื่องมือทรงพลังที่สามารถทำให้ใจผู้ป่วยเจ็บปวดหรือมีสันติได้ ผลของการสื่อสารที่เลว สามารถทำอันตรายก่อความเสียหายที่ยากแก่การแก้ไข ดังนั้นจำเป็นต้องเลี่ยงอันตรายดังกล่าวทุกวิถีทาง ความจริงก็มีอานุภาพที่สำคัญเช่นกัน แต่ต้องรอจังหวะและเวลาอันควร

- ไม่พูดเท็จต่อผู้ป่วยและครอบครัวของเขา  ข่าวร้ายควรนำมาเปิดเผยในเวลาที่ถูกที่ควร และด้วยวิธีที่จะทำให้ผู้ป่วยรู้สึกเจ็บปวดน้อยที่สุด ต้องมีการเตรียมตัวกันล่วงหน้า ข้อมูลเกี่ยวกับการเยียวยารักษาควรมาจากคนมืออาชีพหรือสมาชิกในบ้านเท่านั้น อาสาสมัครไม่ควรยุ่งเกี่ยวในเรื่องนี้ ที่สำคัญต้องบอกความจริงกับผู้ป่วย อย่าพูดให้เขามีความหวังลมๆ แล้งๆ แต่ทุกครั้งเมื่อมีโอกาสควรพูดถึงความหวังด้วย พูดถึงความรักของพระเป็นเจ้าผู้ทรงเป็นรากฐานแห่งความหวังของเรา สวดภาวนาให้มากก่อนที่จะไปพูดกับครอบครัวหรือผู้ป่วยถึงสภาพของเขา สิ่งนี้ต้องการความเข้าใจและความรู้สึกไว

เพื่อให้การสื่อสารสัมฤทธิ์ผลดีขึ้น :
- แนะนำตนอย่างเป็นกันเอง
- ต้องรักษาความเป็นส่วนตัว
- การสนทนาต้องไม่เร่งรีบ ท่านต้องมีเวลาให้เขา
- นั่งใกล้ๆ ผู้ป่วย แล้วทำตัวสบายๆ
- พยายามสบตากับผู้ป่วย
- อย่าพูดถึงเรื่องยามากมาย
- ฟังด้วยความตั้งใจและพูดให้น้อยไว้

- การฟังและพูดอย่างมีประสิทธิภาพ
วิธีฟังผู้อื่นให้ได้ผลมากที่สุดคือการตั้งคำถามที่แสดงถึงความสนใจและความห่วงใยของท่านโดยไม่มีการละลาบละล้วง มีคำถามอยู่ 3 ประเภทด้วยกัน

1. คำถามนำร่อง
จะได้คำตอบที่ผู้ถามต้องการได้ยิน "วันนี้รู้สึกดีขึ้นแล้วใช่ไหม?" (ท่านต้องการให้คู่สนทนาตอบว่า "ใช่" โดยที่ผู้ถามรู้อยู่ก่อนแล้วว่าคำตอบจะต้อง "ใช่")

2. คำถามปิดท้าย
ตั้งใจให้ได้รับคำตอบว่า "ใช่" หรือ "ไม่ใช่" อย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น "วันนี้คุณจะไปหาหมอหรือ?" (ต้องการเพียงคำตอบว่าใช่หรือไม่เท่านั้น

3. คำถามเปิด
เปิดโอกาสให้คู่สนทนาแสดงความรู้สึกหรือความกังวล "เป็นไงบ้างตั้งแต่พบกันครั้งที่แล้ว?" คำถามเปิดทำให้เราสามารถทำการประเมินได้อย่างถูกต้องถึงข้อกังวลของคู่สนทนาได้อย่างถูกต้อง คำถามนี้ควรจะใช้กันมากกว่า เป็นคำถามที่มีประโยชน์ เปิดโอกาสให้คู่สนทนาเปิดใจออกมา
วิธีที่ดีในการเริ่มบทสนทนาคือถามว่า "วันนี้รู้สึกเป็นไงบ้าง?" จากนั้นพยายามที่จะเสริมความรู้สึกของคู่สนทนา "เป็นของธรรมดาอยู่แล้วที่คุณจะต้องมีความรู้สึกเช่นนั้น"
หากมีปัญหายาวเหยียด บอกคู่สนทนาให้เรียงลำดับความหนักเบาของปัญหา "วันนี้ปัญหาอะไรที่รบกวนใจคุณมากที่สุด?"
ขณะที่กำลังสนทนากันน่าจะเป็นประโยชน์หากจะใช้ภาษากายที่ไม่ต้องใช้คำพูดดังที่ได้อธิบายมาแล้ว

- ระยะระหว่างผู้เยี่ยมและผู้ป่วย
การวางตัวห่างแสดงถึงการไม่อยากยุ่งด้วยกับบุคคลอื่น มีอันตรายมากกว่ามีประโยชน์ วิธีการวางตัวห่างคือ :
- คำพูดทำนอง "ให้ตายสิ วันนี้ฉันยุ่งมาก" "อย่าห่วง คุณจะหายเอง" ทั้งๆ ที่ผู้ป่วยรู้ตัวเองดีว่าตนกำลังแย่
- สื่อที่ไม่ต้องใช้เสียง อากัปกริยาหรือการแสดงออกทางใบหน้าที่แสดงว่าท่านไม่สนใจใยดี
- พูดแบบขอไปที และพูดเท็จเกี่ยวกับอาการเจ็บป่วย
- ตอบรับโทรศัพท์ในขณะที่กำลังสนทนา
- คำถามปิดเป็นการตัดการแบ่งปันความรู้สึกต่างๆ
- ปฏิกิริยาของผู้ป่วยต่อการสูญเสียหรือการเจ็บป่วย
ปฏิกิริยาดังกล่าวอาจเกิดจากการตกงาน สูญเสียอวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งจากการผ่าตัด ไม่สามารถเดิน พูด กิน ฟัง เข้าห้องน้ำได้อย่างปกติ เกิดความอ่อนแอโดยฉับพลัน ฯลฯ
ปฏิกิริยาต่อการสูญเสียได้แก่ :
- อาการช็อก
- อารมณ์ซึมเศร้า อาจถึงขั้นสิ้นหวัง
- การปฏิเสธ
- ความโกรธ
- ความรู้สึกผิด
- ความกังวล
- ความเสียใจ
- การยอมรับ
ปฏิกิริยาที่กล่าวมานี้ไม่จำเป็นจะต้องเกิดขึ้นตามลำดับ ปฏิกิริยาบางอย่างอาจไม่เกิดขึ้นหรืออาจเกิดขึ้นพร้อมกันทีเดียวหลายปฏิกิริยาก็ได้ ท่านไม่สามารถจะไปช่วยอะไรเขาได้นอกจากช่วยด้วยการอยู่กับเขาแล้วรับฟังเขาพูดพร้อมกับร่วมแบกภาระของเขาในคำภาวนา

การเอาใจใส่ดูแลครอบครัวสำคัญเช่นเดียวกัน เพราะพวกเขาอาจหมดอาลัยตายอยากและกังวลใจ การให้การสนับสนุนและความช่วยเหลือควรจะเป็นไปแบบตามมีตามเกิด ที่สำคัญควรจำไว้ว่า การสนทนากับสมาชิกของครอบครัวต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของการฟังและความเข้าใจ ไม่ใช่ทำตนเป็นคนมีอำนาจสั่งการ มันจะเกิดผลเป็นที่น่าพอใจที่จะช่วยพวกเขาให้ผ่านถนนที่ขรุขระแห่งความเจ็บปวดและความทุกข์นี้จนกระทั่งผู้ป่วยระยะสุดท้ายสิ้นใจ

สรุปหัวข้อสำคัญ
- เก็บเรื่องส่วนตัวไว้เป็นความลับ
- พยายามเรียนรู้ว่าคู่สนทนารู้อะไรบ้างและต้องการรู้อะไร
- ใช้คำถามเปิด
- ทุกข์แรกอาจเจ็บปวด แต่จงพยายามเสนอให้ความช่วยเหลือเล็กๆ น้อยในทุกสิ่ง
- อย่ามอบความหวังที่ไม่จริงให้เขา
- อย่ากลัวความเงียบ
- เฝ้าระวังปฏิกิริยา โดยเฉพาะอารมณ์ปฏิเสธ โกรธ ต่อรอง สงสัย และยอมรับ
- อาจต้องตรวจสอบว่าเขาเข้าใจคำพูดของท่านไหม
- จงตอบคำถามที่เขาถาม
- กล้าที่จะพูดด้วยความมั่นใจว่า ฉันไม่ทราบ แต่จะพยายามหาคำตอบให้
- ปล่อยไปตามอารมณ์เมื่อเขาหลั่งน้ำตา แสดงอาการโกรธหรือเศร้า ขอให้เข้าใจและอย่ามีปฏิกิริยาตอบหรือพูดวิจารณ์ อย่างเก่งให้พูดว่า "ฉันเข้าใจ"
- จงค้นคว้าหาความไม่แน่นอน และจับประเด็นที่เกิดปัญหาขึ้น
- หวังสิ่งที่ดีที่สุด แต่วางแผนเตรียมรับสิ่งร้ายที่สุดที่จะเกิดขึ้น
- บอกผู้ป่วยให้ดำเนินชีวิตวันต่อวันก็พอ ให้กำลังใจและแสดงตนเป็นคนที่เต็มไปด้วยความหวัง
- สำคัญมากที่ต้องเก็บความลับ ศักดิ์ศรี และความเชื่อยึดมั่นในวัฒนธรรมของผู้ป่วย
- ขอบคุณพระเป็นเจ้าสำหรับพระหรรษทาน และขอพระองค์ทรงประทานพละกำลังสำหรับการทนต่อสิ่งที่เลวร้ายที่สุด

Home  << __Back << __>>  Next

© CHC
สำนักเลขาธิการ :
122/11 ถนนนนทรี 14 เขตยานนาวา  กรุงเทพฯ 10120
Tel. / Fax. 66 2 681 5857 E-mail : chc@cbct.net

Information
สื่อแผนกสุขภาพ
แผนงานเวชบุคคลคาทอลิก 2014
ประเมินผลงานเวชบุคคล 2014
แผนงานผู้สูงอายุ 2014
ประเมินผลงานผู้สูงอายุ 2013>
VCD งานด้านเอดส์
VCD งานผู้สูงอายุ
ทำเนียบหน่วยงานด้านเอดส์
ทำเนียบชมรมผู้สูงอายุคาทอลิก
ทำเนียบชมรมเวชบุคคลคาทอลิก
ทำเนียบหน่วยงานสุขภาพ
SuratThani Diocese Ratchaburi Diocese Bangkok Archdiocese Chanthaburi Diocese Nakhonratchasima Diocese Nakhonratchasima Diocese Ubon Ratchathani Diocese Tharae Archdiocese Udon Thani Diocese NakhonSawan Diocese Chieng Mai Diocese Chieng Mai Diocese Nakhonsawan Diocese Ratchaburi Diocese Suratthani Diocese Chthaburi Diocese Nakhonratchasima Diocese Ubonratchathani Diocese Tharae Arcdiocese Udonthani Diocese แผนที่
เครือข่ายผู้สูงอายุ
เครือข่ายเวชบุคคล
เครือข่ายงานเอดส์
Chieng Mai Diocese NakhonSawan Diocese Udon Thani Diocese Tharae Archdiocese Ubon Ratchathani Diocese Nakhonratchasima Diocese Nakhonratchasima Diocese Chanthaburi Diocese Bangkok Archdiocese Ratchaburi Diocese SuratThani Diocese