ENGLISH
ความเป็นมา โครงสร้าง
วิสัยทัศน์ / พันธกิจ
กิจกรรม
สารวันผู้สูงอายุแห่งชาติ 25565
สารวันเอดส์โลก
งานชุมนุมผู้สูงอายุฯ ครั้งที่ 76
งานชุมนุมผู้สูงอายุฯ ครั้งที่ 8
ชมรมเวชบุคคลคาทอลิกแห่งประเทศไทย
คณะอนุกรรมการฯ เพื่อผู้สูงอายุ
คณะอนุกรรมการฯ งานเอดส์
จดหมายข่าว
โครงการใหม่แผนกสุขภาพอนามัย
แผนที่เดินทาง
บทที่ 3
การอภิบาลผู้ป่วย   (ต่อ)

1. ศีลเจิมผู้ป่วย
มีแต่ผู้ได้รับศีลบรรพชาแล้วเท่านั้น (พระสงฆ์หรือสังฆานุกร) ที่ประกอบศีลเจิมได้
พิธีเจิมผู้ป่วยเป็นศีลศักดิ์สิทธิ์สำหรับ:

…การบำบัดทั้งกายและวิญญาณ
…ความบรรเทาใจแก่ผู้ป่วยหนักที่อาการส่อว่าอาจถึงขั้นต้องเสียชีวิต
…การสัมผัสกับพระคริสตเจ้าผู้ทรงเสด็จมาเพื่อประทานความบรรเทาและให้เราพ้นจากความกังวล
พระคัมภีร์สอนเราว่า ศิษย์ของพระเยซูเจ้ายังคงประกอบพันธกิจในการเอาใจใส่ดูแลคนเจ็บไข้ได้ป่วยโดยการบำบัดให้หาย ทำการเจิมและโปรดศีลอภัยบาป "เขาได้ขับผีให้ออกเสียหลายผี และได้เอาน้ำมันทาคนเจ็บป่วยหลายคนให้หายโรค" (มก 6:13)
"มีผู้ใดในพวกท่านเจ็บป่วยหรือ จงให้ผู้นั้นเชิญบรรดาผู้ปกครองของพระศาสนจักรมา และให้ท่านเหล่านั้นอธิษฐานเพื่อเขา และเจิมเขาด้วยน้ำมันในพระนามขององค์พระผู้เป็นเจ้า การอธิษฐานด้วยความเชื่อจะช่วยให้ผู้ป่วยรอดชีวิต และองค์พระผู้เป็นเจ้าจะทรงโปรดให้เขาหายโรค และถ้าเขาได้กระทำบาป พระองค์ก็จะทรงอภัยให้" (ยก 5:14-15)

ควรรับศีลเจิมเมื่อใด?
เมื่อสมาชิกคนใดคนหนึ่งของครอบครัวหรือของวัดเจ็บป่วยนอนอยู่บนเตียงเป็นเวลานาน (เช่นในกรณีที่เป็นไข้เลือดออก) หรือเมื่อจำเป็นต้องมีการไปอยู่โรงพยาบาลและมีการผ่าตัด กรุณาช่วยแจ้งกลุ่มเพื่อนบ้านหรือกลุ่มสมาชิกของวัดที่มีหน้าที่ให้การอภิบาลแก่ผู้ป่วยได้ทราบ พวกเขาจะรีบจัดการให้มีการเยี่ยม หรืออาจขอให้พระสงฆ์ไปเอง หรือให้ผู้ที่รับหน้าที่ส่งศีลเสบียงไปเยี่ยมอย่างสม่ำเสมอ น่าจะให้ผู้ป่วยมีโอกาสรับศีลอภัยบาป ศีลเจิมและศีลมหาสนิทในช่วงนี้ หากเป็นความต้องการของเขา ศีลอภัยบาปและศีลเจิมเป็นหน้าที่จำเพาะของพระสงฆ์
หากผู้ป่วยมีอาการหนักมาก ขอให้ติดต่อพระสงฆ์ให้ไปเยี่ยมโดยทันที อย่ารอจนกระทั่งท่านเห็นว่าผู้ป่วยใกล้สิ้นใจแล้วถึงไปตามพระสงฆ์ แต่ไม่ต้องตามพระสงฆ์หลายองค์ให้มาทำพิธีศีลเจิมซ้ำ เพราะท่านก็รู้ดีอยู่ว่ามันไม่เป็นการดีสำหรับผู้ป่วย หากท่านไม่แน่ใจว่าถึงเวลาแล้วหรือยังที่จะไปตามพระสงฆ์ ก็ขอให้เช็คได้กับพระสงฆ์เองหรือกับคณะของวัดที่มีหน้าที่อภิบาลผู้ป่วย

ศีลเจิมมีความหมายต่อผู้ป่วยอย่างไรบ้าง?
ตามหนังสือคู่มือศีลเจิมปี 1972 "ศีลศักดิ์สิทธิ์นี้ประทานพระหรรษทานของพระจิตแก่ผู้ป่วย อาศัยพระหรรษทานนี้ผู้ป่วยจะได้รับความช่วยเหลือ ได้รับความรอด ได้รับพลังแห่งความวางใจในพระเป็นเจ้า ได้รับพลังที่จะต่อต้านกับการประจญล่อลวงของปิศาจและต่อความกลัวที่จะต้องตาย ดังนั้นผู้ป่วยจะสามารถไม่เพียงแต่ที่จะทนต่อความทุกข์ทรมานอย่างกล้าหาญเท่านั้น แต่ยังสามารถที่จะต่อสู้กับมันได้อีกด้วย สุขภาพอาจกลับคืนดีขึ้นใหม่ได้หลังการรับศีลเจิม หากสิ่งนี้จะเป็นคุณต่อความรอดของผู้ป่วย ในกรณีจำเป็นศีลศักดิ์สิทธิ์ยังโปรดบาปรวมถึงการใช้โทษบาปให้แก่ผู้ป่วยด้วย"

เมื่อคนหนุ่มสาว เด็ก หรือผู้สูงอายุได้รับศีลเจิมจากพระสงฆ์ เขาก็ได้รับพระหรรษทานต่างๆ ดังต่อไปนี้ :
1. พระจิตเจ้าจะทรงประทานพระพรสำหรับกายและวิญญาณของผู้ป่วย มันเป็นเครื่องหมายแห่งความรักอย่างมิรู้คลายของพระเป็นเจ้าต่อเราอีกทั้งเป็นการเอาใจใส่ของพระองค์ในเวลาที่เราช่วยเหลือตัวเองไม่ได้เลย บาปได้รับการอภัยและสุขภาพก็ได้รับพระพรให้หาย
2. ศีลเจิมช่วยให้ความไว้ใจของเราในคุณงามความดีของพระเป็นเจ้าทวีความเข้มแข็งขึ้น ยามที่เราเจ็บป่วย เรามักจะเกิดท้อถอยง่ายและพ่ายแพ้แก่ความรุ่มร้อนใจและความกลัวต่างๆ เราอาจรู้สึกว่าไม่มีใครช่วยอะไรได้หรือรู้สึกสิ้นหวัง และบางครั้งแม้แต่การสวดภาวนาก็กลายเป็นเรื่องที่ยากลำบาก เราอาจถูกประจญให้เป็นกบฏต่อพระเป็นเจ้า แล้วเริ่มสงสัยว่าความเชื่อของเราเป็นสิ่งหลอกลวงหรือเปล่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อการทรมานและความเจ็บปวดเป็นเรื่องยากที่จะทน ศีลเจิมจะขับไล่การประจญและความกลัวต่างๆ เหล่านั้นให้หมดสิ้นไป ในขณะเดียวกันก็ฟื้นฟูและเพิ่มพลังแห่งความวางใจของเราในพระเป็นเจ้า ช่วยประทานสันติและความสงบแก่จิตใจของเรา
3. ศีลเจิมช่วยให้เราหายจากโรคหากนี่เป็นไปเพื่อความดีฝ่ายจิตของเรา ขณะที่ปล่อยให้เป็นไปตามน้ำพระทัยของพระเป็นเจ้า เราควรพยายามทุกวิถีทางที่จะทำให้เราหายจากโรคด้วยการให้ความร่วมมือกับแพทย์ พยาบาล ผู้ดูแลสุขภาพที่เป็นมืออาชีพ และบุคคลอื่นๆ ที่ดูแลเราในยามที่เราเจ็บไข้ได้ป่วย หากเรายอมนบนอบ เราก็ทำตามน้ำพระทัยพระเป็นเจ้า และความนบนอบคือ ฤทธิ์กุศลประการหนึ่งของผู้ป่วย
4. ศีลเจิมให้อภัยบาป การเจิมเป็นการเพิ่มพลังให้แก่ศีลอภัยบาป ซึ่งเป็นศีลหลักในการอภัยบาปและการคืนดี ทำให้ผู้ป่วยสามารถที่จะยอมรับสภาพของตน ที่จะมอบความทุกข์ทรมานของตนร่วมกับพระมหาทรมานของพระคริสตเจ้า อีกทั้งยอมรับการทรมานเหล่านั้นเพื่อเป็นการชดเชยบาปแห่งตน

ข้อสังเกต: เป็นเรื่องสำคัญที่จะไม่ต้องรอจนกระทั่งผู้ป่วยไม่รู้ตัวหรือใกล้สิ้นใจก่อนที่จะไปตามพระสงฆ์

การเตรียมตัว
เกี่ยวกับการทำพิธี :

มีองค์ประกอบ 3 ส่วนด้วยกันในการประกอบพิธีศีลเจิม
1. พระวาจาของพระเป็นเจ้าได้รับการประกาศและการตอบรับมีอยู่ในบท "ข้าพเจ้าเชื่อ" พระศาสนจักรพร้อมกับพระสงฆ์และชุมชนสัตบุรุษอยู่ที่นั้นและสวดภาวนาสำหรับผู้ป่วย
2. การสัมผัสเพื่อการบำบัดของพระเยซูเจ้าได้ถูกนำมาใช้อีกครั้งหนึ่งในตอนที่มี "การสัมผัสด้วยมือ" พระศาสนจักรสวดวิงวอนขอพระหรรษทานของพระจิตสำหรับผู้ป่วย
3. "การเจิมด้วยน้ำมัน" เป็นหลักประกันถึงการประทับอยู่ของพระจิตรวมถึงการเยียวยารักษาโรค ผู้ป่วยจะได้รับพระพรให้กายและจิตเข้มแข็งเพื่อที่จะสามารถต่อสู้กับความเจ็บป่วยของพวกเขาได้

สำหรับผู้ป่วยที่อยู่ตามบ้าน
สิ่งที่ต้องการสำหรับประกอบพิธีมีโต๊ะเล็กตัวหนึ่งหรือโต๊ะเล็กที่อยู่มุมห้องผู้ป่วย คลุมด้วยผ้าขาว ควรมีไม้กางเขนและเทียนตั้งบนโต๊ะ ควรมีขันน้ำสำหรับล้างมือด้วย ส่วนอื่นๆ พระสงฆ์จะเป็นผู้นำมาเอง

สำหรับผู้ป่วยในโรงพยาบาล:
โต๊ะที่เลื่อนเหนือเตียงสำหรับรับประทานอาหาร หรือตู้เสื้อผ้าข้างเตียง

ผู้ใดควรร่วมในพิธี?
ทุกคนที่มีส่วนร่วมในการรักษาพยาบาล ไม่ว่าจะเป็นครอบครัว เพื่อน หรือพยาบาล

2. การส่งศีลเสบียง
(ควรเช็คก่อนเสมอว่า ผู้ป่วยต้องการพบพระสงฆ์เพื่อรับศีลอภัยบาปก่อนหรือไม่)
การเตรียมตัว:

มีความเชื่อมโยงกันอย่างใกล้ชิดทีเดียวระหว่างการเฉลิมฉลองศีลมหาสนิทของชุมชนโดยเฉพาะอย่างยิ่งในวันอาทิตย์กับการรับศีลมหาสนิทของผู้ป่วย นอกเหนือไปจากการที่เราระลึกถึงผู้ป่วยในการสวดภาวนาของมวลชนในพิธีบูชามิสซาขอบพระคุณแล้ว ผู้ซึ่งไปวัดยังมีหน้าที่จะต้องไปเยี่ยมบรรเทาคนที่ไม่อาจมามีส่วนร่วมกับสัตบุรุษในการเฉลิมฉลองศีลมหาสนิท จะทำสิ่งนี้ให้ชัดเจนได้โดยการนำศีลเสบียงจากโต๊ะบูชาไปส่งให้แก่ผู้ป่วย
เมื่อนำศีลเสบียงไปส่งผู้ป่วย ควรจะเก็บแผ่นศีลไว้ในตลับพิเศษที่ปิดแน่นมิดชิด คนที่อยู่กับผู้ป่วยควรเตรียมโต๊ะเล็กๆ ปูด้วยผ้าขาว ควรจุดเทียนหนึ่งหรือสองเล่มบนโต๊ะและจัดขันน้ำเล็กๆ ไว้ด้วยเพื่อผู้ส่งศีลใช้ล้างนิ้วมือ

Home  << __Back << __

© CHC
สำนักเลขาธิการ :
122/11 ถนนนนทรี 14 เขตยานนาวา  กรุงเทพฯ 10120
Tel. / Fax. 66 2 681 5857 E-mail : chc@cbct.net

Information
สื่อแผนกสุขภาพ
แผนงานเวชบุคคลคาทอลิก 2014
ประเมินผลงานเวชบุคคล 2014
แผนงานผู้สูงอายุ 2014
ประเมินผลงานผู้สูงอายุ 2013>
VCD งานด้านเอดส์
VCD งานผู้สูงอายุ
ทำเนียบหน่วยงานด้านเอดส์
ทำเนียบชมรมผู้สูงอายุคาทอลิก
ทำเนียบชมรมเวชบุคคลคาทอลิก
ทำเนียบหน่วยงานสุขภาพ
SuratThani Diocese Ratchaburi Diocese Bangkok Archdiocese Chanthaburi Diocese Nakhonratchasima Diocese Nakhonratchasima Diocese Ubon Ratchathani Diocese Tharae Archdiocese Udon Thani Diocese NakhonSawan Diocese Chieng Mai Diocese Chieng Mai Diocese Nakhonsawan Diocese Ratchaburi Diocese Suratthani Diocese Chthaburi Diocese Nakhonratchasima Diocese Ubonratchathani Diocese Tharae Arcdiocese Udonthani Diocese แผนที่
เครือข่ายผู้สูงอายุ
เครือข่ายเวชบุคคล
เครือข่ายงานเอดส์
Chieng Mai Diocese NakhonSawan Diocese Udon Thani Diocese Tharae Archdiocese Ubon Ratchathani Diocese Nakhonratchasima Diocese Nakhonratchasima Diocese Chanthaburi Diocese Bangkok Archdiocese Ratchaburi Diocese SuratThani Diocese