ENGLISH
ความเป็นมา โครงสร้าง
วิสัยทัศน์ / พันธกิจ
กิจกรรม
สารวันผู้สูงอายุแห่งชาติ 2556
สารวันเอดส์โลก
งานชุมนุมผู้สูงอายุฯ ครั้งที่ 76
งานชุมนุมผู้สูงอายุฯ ครั้งที่ 8
ชมรมเวชบุคคลคาทอลิกแห่งประเทศไทย
คณะอนุกรรมการฯ เพื่อผู้สูงอายุ
คณะอนุกรรมการฯ งานเอดส์
จดหมายข่าว
โครงการใหม่แผนกสุขภาพอนามัย
แผนที่เดินทาง
บทที่ 2
การเยี่ยมผู้สูงอายุและผู้ป่วยระยะสุดท้าย   (ต่อ)
ค. บทบาทของครอบครัว
ในฐานะที่เป็นแขกไปเยี่ยมบ้านคนอื่น ท่านอาจให้คำแนะนำบางอย่างแก่ครอบครัวและช่วยให้พวกเขาเข้าใจถึงความต้องการของผู้สูงอายุที่อยู่ในบ้าน

ข้อพึงปฏิบัติที่เป็นประโยชน์มีดังต่อไปนี้ :
1. สนับสนุนให้ผู้สูงอายุดำเนินชีวิตประจำวันเหมือนที่เคยปฏิบัติในบ้านให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
2. พยายามอย่าให้ผู้สูงอายุอยู่ว่าง โดยให้เพื่อนบ้านหรือญาติมาเยี่ยมเยียนบ่อยๆ หรือให้เขาทำกิจกรรมฆ่าเวลา เช่นเล่นอักษรไขว้ เล่นหมากรุก ฯลฯ
3. ในแต่ละวันหากผู้สูงอายุรู้สึกเหนื่อย ต้องให้เขาได้พักผ่อน
4. ต้องเอาใจใส่ดูแลอย่าปล่อยให้ผิวหนังแห้ง ต้องให้รับประทานอาหารอย่างมีสัดส่วนเหมาะสม และดื่มน้ำเพียงพอเพื่อป้องกันร่างกายขาดน้ำ
5. ระวังระบบการขับถ่ายต้องสม่ำเสมอ หากมีอาการท้องผูกให้ใช้ยาถ่ายชนิดอ่อน โดยรับประทานก่อนนอนหรือเวลาที่ต้องการ

ง. ป้องกันการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ
เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ :
- บันไดควรมีแสงสว่างเพียงพอ รวมถึงจุดต่างระดับต่างๆ
- บันไดควรมีราวจับ และชั้นต่างระดับควรมีเครื่องหมายบอก
- อย่างลงน้ำมันหรือขัดพื้นเกินควร พรมต้องไม่ย่นยับและไม่ให้มีน้ำหกบนพื้น
- ของเด็กเล่นควรเก็บเป็นที่เป็นทาง ไม่ควรปล่อยทิ้งเกะกะตามพื้น โดยเฉพาะที่พื้นล่างสุดของขั้นบันไดหรือในห้องนั่งเล่น
- อย่าให้ผู้สูงอายุเดินไปมาตอนที่พื้นห้องยังเปียกอยู่หรือหลังการขัดพื้น อย่าใส่ถุงเท้าเดินบนพื้นเรียบขัดมัน

จ. ตระหนักถึงอาการเจ็บทั่วไปและความสามารถที่สำคัญบางประการ
โรคทุกชนิดจะมีปัญหาเพิ่มขึ้นหากเกิดกับผู้สูงอายุ จึงเป็นเรื่องสำคัญที่เราจะต้องตระหนักให้ดีถึงปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพของผู้สูงอายุที่เราไปเยี่ยม เพื่อที่เราจะได้ไม่ไปทำให้อาการของเขาแย่ลงไป เช่น เราอาจนำเอาชอกโกแล็ตไปให้ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน หรือเอาส้มไปให้ผู้ที่เป็นโรคแก๊ซในกระเพาะ เป็นต้น
บ่อยครั้ง ผู้สูงอายุอาจได้รับการรักษาหลายรูปแบบและทานยามากมายหลายชนิด บางทีก็เป็นการยากสำหรับเขาที่จะจดจำยาต่างๆ ได้ทั้งหมดว่ายาอะไรแก้อะไร ทานเมื่อใด ทานครั้งละเท่าใด ฯลฯ หากท่านช่วยแนะนำได้ก็จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง อีกประการหนึ่งคือ การเดินทางไปพบแพทย์อาจเป็นกิจกรรมที่ยุ่งยากมากทั้งสำหรับผู้สูงอายุและผู้ดูแล ให้ตรวจสอบดูว่ามีความต้องการเรื่องความช่วยเหลือใดบ้างที่จำเป็น

การเจ็บป่วยอาจรุนแรงและเรื้อรัง อาการป่วยรุนแรงซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องของอาการติดเชื้อจะไม่เกิดขึ้นนาน อาจหายได้ภายใน 7-10 วัน ส่วนการเจ็บป่วยประเภทเรื้อรังนั้นจะยืดเยื้อมากกว่า 10 วันขึ้นไป และมักจะก่อให้เกิดอาการแทรกซ้อน หรือทำให้ผู้ป่วยเกิดการไร้สมรรถภาพต่างๆ ได้ ผู้เยาว์มักจะหายเร็วกว่าเมื่อเทียบกับผู้สูงอายุ

ความกังวลของเราน่าจะเกี่ยวกับปัญหาโรคร้ายเรื้อรังบางอย่าง เช่น โรคมะเร็ง โรคหัวใจ โรคตับอักเสบ ความดันสูง อัมพฤกษ์ โรคไต ไตล้มเหลว โรคกระดูกพรุน โรคลมบ้าหมู หืด เส้นเลือดหัวใจตีบ ซึ่งโรคเหล่านี้มักจะเกิดกับผู้สูงอายุ โรคอัมพฤกษ์นั้นหลากหลาย ยิ่งอายุมากขึ้นเท่าใดยิ่งจะมีโอกาสเป็นโรคอัมพฤกษ์มากขึ้นเท่านั้น

เป็นการง่ายที่จะจำโรค 12 โรคที่ขึ้นต้นภาษาอังกฤษด้วยอักษร "I"
Immobility (ไม่สามารถเคลื่อนไหวได้)
Instability (การทรงตัวที่ไม่มั่นคง)
Incontinence (ไม่คงเส้นคงวา)
Intellectual impairment (หลงลืม ซึมเศร้า)
Infections (โรคติดเชื้อ)
Impairment of vision and hearing (ตามัวหูตึง)
Isolation (ปลีกตัวออกจากสังคมหรือไม่อยากพูดกับคนที่หูหนวกตาบอด)
Insomnia (โรคนอนไม่หลับ)
Inanition (รับประทานอาหารไม่ถูกหลักโภชนาการ)
Impecunity (โรคทรัพย์จาง)
Impotence (โรคไร้สมรรถภาพ)
Immune deficiency (โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง)

ปัญหาดังกล่าวอาจก่อให้เกิดความไม่เข้าใจกันระหว่างสมาชิกในครอบครัว ซึ่งต่างคนต่างสาละวนอยู่กับการทำมาหากินเลยไม่มีเวลาฟังผู้สูงอายุ ต้องใช้ความเพียรสูงเพื่อที่จะจัดการกับปัญหาเหล่านั้น

ฉ. ผู้สูงอายุที่เสี่ยงกับอันตรายมากที่สุด
- ผู้สูงอายุที่อยู่เพียงลำพัง
- คู่ชีวิตคนหนึ่งคนใดเสียชีวิตลง จากที่อยู่กันเพียงลำพังสองคน
- คนที่ชรามากๆ อายุ 85 ปีขึ้นไป
- ผู้สูงอายุที่ไม่มีเงิน

ช. ข้อคิดเมื่อเยี่ยมผู้สูงอายุ
1. พยายามเรียนรู้เกี่ยวกับสุขภาพของเขา ไม่ว่าจะเกี่ยวกับฝ่ายกาย จิต สังคม
2. เรียนรู้ถึงสมาชิกของครอบครัวและความสัมพันธ์ของพวกเขาบ้างก็ดี สืบให้ได้ว่าใครเป็นผู้ดูแลเพื่อจะได้ให้กำลังใจแก่คนนั้น ให้มีการผลัดเวรหรือมีการพักกันบ้าง ฯลฯ
3. พยายามให้ความสนใจเป็นพิเศษในเรื่องความต้องการของผู้สูงอายุ เป็นต้นเรื่องอาหาร ยา การทำความสะอาดห้อง การซักเสื้อผ้า ฯลฯ
4. เสนอให้ความช่วยเหลือที่ท่านสามารถทำได้ระยะยาว หากท่านทำงานเป็นทีมกับคนในชุมชนหรือเพื่อนบ้าน ท่านจะทำงานได้มากขึ้นและสม่ำเสมอขึ้น
5. ในขณะเยี่ยม ให้นั่งใกล้ๆ หันหน้าไปหาเขา พูดชัดๆ และพูดกับเขาโดยตรงแทนที่จะหันไปพูดกับคนอื่นในห้อง เพราะการมองอะไรไม่ชัดและอาการหูตึงอาจทำให้ผู้สูงอายุตามการสนทนาไม่ทันหากมีหลายฝ่ายพูดพร้อมกัน
6. พยายามฟังอย่างตั้งอกตั้งใจ จงระลึกเสมอว่าผู้สูงอายุอาจหูตึง ตามัว ความจำเสื่อม ที่สำคัญท่านต้องพูดให้ชัดถ้อยชัดคำ พูดช้าๆ และใช้ภาษาที่ฟังง่าย
7. บางครั้งผู้สูงอายุต้องเฝ้าโยงเป็นเพียงเพราะไม่มีรถเข็น ลองหาทางเช่ารถเข็นดู แล้วพาเขาไปเที่ยวนอกบ้านพร้อมกับครอบครัวของเขา
8. หากท่านสังเกตเห็นจุดใดไม่ค่อยปลอดภัยสำหรับผู้สูงอายุ ก็ช่วยให้คำแนะนำไปว่าจะทำอย่างไรให้มีความปลอดภัยในบ้าน เช่น ยึดพรมให้แน่นกับพื้นไม่ให้เกิดการเลื่อนไหล ทำราวยึดในห้องน้ำ ฯลฯ
9. ผู้สูงอายุและครอบครัวอาจเป็นศาสนิกอื่น ให้ถามเขาว่าต้องการพระสงฆ์หรือที่ปรึกษามาเยี่ยมไหม สวดพร้อมกับเขาหากพวกเขาต้องการ โปรดดูบทสวดต่างๆ ท้ายเล่ม
10. อย่าเอาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เช่น สายประคำ เสื้อจำพวก ฯลฯ ไปมอบให้ผู้สูงอายุ เว้นเสียแต่ว่าเขาขอมา
11. ความซื่อสัตย์-ผู้สูงอายุไม่ใช่เด็ก เขาหวังว่าผู้ดูแลเป็นคนซื่อสัตย์ในคำสัญญา เวลาอาจเหลือน้อยสำหรับผู้ที่มีอายุมาก ในการสนทนอย่าเลี่ยงประเด็นด้วยการพูดว่า "ไม่ต้องห่วง" แล้วเปลี่ยนเรื่อง หากท่านแก้ปัญหาไม่ได้ ก็ให้หาคนอื่นที่สามารถแก้ปัญหาได้ไปแทน
12. ให้ทันกับเหตุการณ์กับโครงการต่างๆ ของวัดหรือชุมชนคาทอลิกที่ทำงานเกี่ยวข้องกับบุคคลที่ท่านไปเยี่ยม

2. การเดินทางร่วมกับผู้ป่วยระยะสุดท้าย
ก. คำนำ

หลักการเยี่ยมผู้ป่วยตามบ้านและตามโรงพยาบาลดังที่กล่าวมาข้างต้นนั้น ท่านสามารถนำไปใช้ได้ทั้งนั้น และต่อไปนี้เป็นคำแนะนำเพิ่มเติมเพื่อให้ท่านได้พิจารณา :
1. กระบวนการเข้าเยี่ยมจะแตกต่างออกไปหากบุคคลที่จะไปเยี่ยมอยู่ลำพังคนเดียวหรืออยู่กับสมาชิกคนหนึ่งคนใดของครอบครัว
2. ท่านรู้จักคนที่จะไปเยี่ยมมาก่อนหรือเปล่า หากยังไม่รู้จัก ต้องพยายามสร้างความสนิทสนมให้เกิดขึ้นก่อน
3. หากผู้ป่วยไม่ทราบว่าตนมีอาการป่วยขั้นสุดท้ายก็ไม่ควรบอกเขา บ่อยครั้งญาติพี่น้องไม่ต้องการให้ผู้ป่วยทราบ เราต้องให้ความเคารพต่อสิ่งที่พวกเขาปรารถนา
4. เมื่อผู้ป่วยพูดอาจแสดงอารมณ์ออกมาในหลายรูปแบบ เราต้องฟังอย่างเดียว ห้ามถามซอกแซก เพียงแต่พูดว่า "ฉันเข้าใจดี มันเป็นเรื่องลำบากใจสำหรับคุณ" พยายามให้ผู้ป่วยได้พูดออกมา ส่วนท่านรับฟังอย่างเดียว และอย่าพูดขัดจังหวะเขา
5. ฟังให้มากกว่าพูด
6. เคารพความต้องการของผู้ป่วยเสมอ พยายามทำให้เขารู้สึกสบาย ทั้งสติปัญญา ร่างกาย และอารมณ์
7. อย่าพยายามเอาความคิดอะไรของตนเองไปยัดใส่ให้กับผู้ป่วย
8. ผู้ป่วยที่กำลังใกล้เสียชีวิตมีความปรารถนาอะไรบางอย่างในช่วงสุดท้ายของชีวิตที่อยากทำ ตรงนี้ท่านสามารถช่วยเขาได้
9. ถามว่าเขาต้องการคุยกับทนายความไหมเพื่อจัดการกับมรดก หรือต้องการพบพระสงฆ์ไหมเพื่อรับศีลเจิมหรือศีลอภัยบาป
10. ช่วยผู้ป่วยให้พูดเกี่ยวกับความแตกร้าวในความสัมพันธ์ที่ยังไม่ได้รับการแก้ไข หรือเกี่ยวกับเรื่องเงินทองที่ผู้ป่วยอยากพูด
11. สวดพร้อมกับเขาถ้าเขายอม
12. บุคคลประเภทนี้อาจต้องการการเยี่ยมมากกว่าหนึ่งครั้ง ไม่ควรพลาดโอกาสหากท่านต้องการติดตามผล
13. ให้เบอร์โทรศัพท์ของท่านไว้เพื่อผู้ป่วยที่ต้องการติดต่อท่าน การทอดทิ้งผู้ป่วยโดยทันทีทันใดเป็นเรื่องปวดร้าวซึ่งควรหลีกเลี่ยงเป็นอย่างยิ่ง

ข. เข้าใจความต้องการของผู้ป่วยระยะสุดท้าย
สมมุติว่าผู้ป่วยและครอบครัวได้รับรู้ถึงอาการป่วยและการคาดการณ์ของแพทย์ว่าผู้ป่วยจะมีชีวิตอยู่ได้อีกนานเท่าไร หากผู้ป่วยยังไม่ทราบถึงความจริงถึงสถานภาพของตนเอง ก็ขอให้เคารพความตั้งใจของครอบครัวและปฏิบัติตนไปตามนั้น การสนทนากับผู้ป่วยและครอบครัวจะง่ายขึ้นหากความจริงปรากฏออกมาแล้ว เพราะไม่จำเป็นที่จะต้องมาคอยปิดบังความจริง ซึ่งเป็นเรื่องยาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากผู้ป่วยเป็นคนที่มีความรู้สึกไวและดูเหมือนจะรู้เรื่องบ้างแล้ว
- ประเภทของผู้เจ็บป่วย
คำว่า "ผู้ป่วยระยะสุดท้าย" มีความหมายกว้าง ครอบคลุมถึงอวัยวะทุกส่วนของร่างกาย อาการสุดท้ายส่วนใหญ่เกิดขึ้นเพราะโรคมะเร็ง แต่ก็มีโรคอื่นอีกเช่นกันที่เป็นอาการขั้นสุดท้าย เช่น โรคไตล้มเหลว แพทย์เป็นผู้ให้คำจำกัดความเอง ลงประเมินความเห็นว่าคนไข้จะมีชีวิตอยู่ได้ไม่เกิน 6 เดือน จึงขอให้เราระลึกว่ามีแต่พระเป็นเจ้าเท่านั้นที่ล่วงรู้ความจริง แพทย์ได้แต่ประเมินแบบคาดการณ์เท่านั้น

Home  << __Back << __>>  Next

© CHC
สำนักเลขาธิการ :
122/11 ถนนนนทรี 14 เขตยานนาวา  กรุงเทพฯ 10120
Tel. / Fax. 66 2 681 5857 E-mail : chc@cbct.net

Information
สื่อแผนกสุขภาพ
แผนงานเวชบุคคลคาทอลิก 2014
ประเมินผลงานเวชบุคคล 2014
แผนงานผู้สูงอายุ 2014
ประเมินผลงานผู้สูงอายุ 2013>
VCD งานด้านเอดส์
VCD งานผู้สูงอายุ
ทำเนียบหน่วยงานด้านเอดส์
ทำเนียบชมรมผู้สูงอายุคาทอลิก
ทำเนียบชมรมเวชบุคคลคาทอลิก
ทำเนียบหน่วยงานสุขภาพ
SuratThani Diocese Ratchaburi Diocese Bangkok Archdiocese Chanthaburi Diocese Nakhonratchasima Diocese Nakhonratchasima Diocese Ubon Ratchathani Diocese Tharae Archdiocese Udon Thani Diocese NakhonSawan Diocese Chieng Mai Diocese Chieng Mai Diocese Nakhonsawan Diocese Ratchaburi Diocese Suratthani Diocese Chthaburi Diocese Nakhonratchasima Diocese Ubonratchathani Diocese Tharae Arcdiocese Udonthani Diocese แผนที่
เครือข่ายผู้สูงอายุ
เครือข่ายเวชบุคคล
เครือข่ายงานเอดส์
Chieng Mai Diocese NakhonSawan Diocese Udon Thani Diocese Tharae Archdiocese Ubon Ratchathani Diocese Nakhonratchasima Diocese Nakhonratchasima Diocese Chanthaburi Diocese Bangkok Archdiocese Ratchaburi Diocese SuratThani Diocese